top of page

เจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม (ปัจจุบัน)
พระวชิรเขมคุณ
วิลาส อคฺควโร

V1.11.jpg
29352.1.jpg
วชิรเขมคุณ.jpg

พระวชิรเขมคุณ ฉายา อคฺควโร วิทยฐานะ น.ธ. เอก วัดเขมาภิรตาราม

อายุ ๘๕ พรรษา ๖๐ ตําบลสวนใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อําเภอเมือง

 

ปัจจุบนัดํารงตําแหน่ง

๑.เจ้าอาวาสพระอารามหลวง

๒.พระอุปัชฌาย์

สถานะเดิม

ชื่อ              วิลาศ นามสกุล สุดสงค์ เกิดวัน ๑ ฯ ๘ ค่ำา ปีเถาะ

เกิด            วันท่ี ๙ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ บิดา นายสัก มารดา นางลั่น ที่บ้านเลขท่ี ๖๓ หมู่ท่ี ๙ ตําบลเสือหึง อําเภอเชียรใหญ่

                  จังหวัดนครศรีธรรมราช

บรรพชา     วัน ๓ ฯ ๘ ค่ำ ปี เถาะ วันท่ี ๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดบางอุดม อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
                  พระอุปัชฌาย์ พระครูบริหารสังฆกิจ วัดรามประดิษฐ์ ตําบลปากพนังฝั่งตะวันออก อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช


อุปสมบท    วัน ๓ ฯ ๘ ค่ำ ปี เถาะ วันท่ี ๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดบางอุดม อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
                   พระอุปัชฌาย์ พระครูบริหารสังฆกิจ วัดรามประดิษฐ์ ตําบลปากพนังฝั่งตะวันออก อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วิทยฐานะ

(๑)  พ.ศ. ๒๔๙๓ สําเร็จช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔
       โรงเรียนบ้านบางตะลุมพอ อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

(๒)   พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบไล่ได้ น.ธ. เอก
        สํานักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร กรุงเทพมหานคร

(๓)   การศึกษาพิเศษ อบรมพระสังฆาธิการช้ันสูง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

(๔)   ความชํานาญการ ทรงพระปาฏิโมกข์, นวกรรม

งานปกครอง

พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

งานศึกษา

(๑) พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๕๕ เป็นครูสอนปริยัติธรรม แผนกธรรมสํานักศาสนศึกษา

(๒) มีวิธีส่งเสริมการศึกษา ดังนี้

๑. สนับสนุนส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน ๒. มอบรางวัลให้ครูและนักเรียน

 

งานเผยแผ่

พ.ศ.๒๕๒๕–ปัจจุบัน แสดงธรรมในวันธัมมัสสวนะ

พ.ศ. ๒๕๔๐ – ปัจจุบัน เป็นพระอาจารย์อบรมกรรมฐานอุบาสก อุบาสิกา

งานสาธารณูปการ

(๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ของวัด

(๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ - บริจาคเงินสบทบทุนมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเงินจํานวน ๑๑๑,๒๕๐ บาท

(๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ - บริจาคเงินก่อสร้าง กุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร ที่วัดบางอุดม

                           อําเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นกุฏิรับรองพระเถระ

       ราคาค่าก่อสร้าง เป็นเงินจํานวน ๘๓๐,๐๐๐ บาท

สมณศักดิ์

(๑) พ.ศ. ๒๕๒๑ - ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมที่ “พระครูปลัด” ของพระราชสารสุธี (จับ อุคฺคเสโน)

                           อดีตเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม

(๒) พ.ศ. ๒๕๒๕ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในพระราชทินนามที่ พระครูอุดมศีลาจาร

(๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม

(๔) พ.ศ. ๒๕๓๙ - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ ในพระราชทินนามเดิม

(๕) พ.ศ. ๒๕๖๖ - ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชทินนาม ที่ พระวชิรเขมคุณ

อดีตเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม

(บันทึกในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา)

๑. พระครูเขมาภิมุขธรรม ท่านเป็นชาวสุโขทัย เดิมอยู่วัดไชยฉิมพลี ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูเขมาภิมุขธรรม และไปครองวัดเขมาภิรตาราม ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระเขมาภิมุขธรรม ครองวัดนี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๗ จนถึง พ.ศ. ๒๔๐๖ เป็นระยะเวลา ๙ ปี

3_2.jpg
4_2.jpg
5_2.jpg
6_1.jpg
7.jpg
8.jpg
9.jpg
10.jpg

๒. พระเขมาภิมุขธรรม เดิมเป็นพระครูสมุทรธรรมขันธ์ อยู่วัดเครือวัลย์ ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระเขมาภิมุขธรรม และย้ายจากวัดเครือวัลย์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ครองวัดนี้อยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นระยะเวลา ๑๖ ปี

๓. พระครูเขมาภิมุขธรรม (อิ่ม) ครองวัดมาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ (ราชกิจจาฯ เล่ม จ.ศ. ๑๒๔๓ หน้า ๗๖) ต่อมาได้ย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศ และปรากฎใน ประวัติวัดพิชัยญาติ (ดูแถลงการณ์คระสงฆ์ เล่ม ๑๕ หน้า ๒๕๐) มีว่าท่านผู้นี้ได้ย้ายมาจากวัดบวรนิเวศมา ครองวัดพิชัยญาติอยู่ ๑๐ ปี รูปนี้ครองวัดเขมาภิรตาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๒ ถ้าถึง พ.ศ. ๒๔๒๗ คิดเวลาราว ๕ ปี

 

๔. พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นชาวอุบลราชธานี (เป็นพระอุปัชฌายะของหลวงปู่มั่น ภูริทตโต อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา แห่งพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบัน) รูปนี้พบหลักฐานในราชกิจจาฯ เล่ม จ.ศ. ๑๒๔๖ (ปี พ.ศ. ๒๔๒๗) หน้า ๒๓๔ ว่า "ให้พระครู วิสุทธิสรภาณ วัดบุรณศิริมาตยราม เป็นพระครู เขมาภิมุขธรรมไปอยู่วัดเขมาภิรตาราม" เข้าใจว่ารูปนี้เองต่อมาเป็นพระอริยกวี (อ่อน) แต่ค้นในราชกิจจาฯ เพื่อทราบนามเดิมและเลื่อนสมณศักดิ์ ก็ไม่พบพระอริยกวี (อ่อน) จำกันได้ว่าต่อมาได้ย้ายไปอยู่อุบลฯ รูปนี้ครองมาแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ คิด เวลาก็ราว ๖ ปี

๕. พระครูสถิตธรรมสโมธาน (สอน) เป็นชาวบางใหญ่ นนทบุรี พบในประวัติวัดบวรนิเวศฯ (ดูแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๑๕ หน้า ๒๘๕) ว่า "ครั้งถึงกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ โปรดให้มาเป็นผู้รั้ง เจ้าอาวาสวัดเขมาฯ" แต่จะครองมานานเท่าไร ค้นไม่พบ แต่พบหลักฐานอย่างอื่นยืนยัน ซึ่งอยู่ในราชกิจจาฯ เล่ม ๑๔ (ปี พ.ศ. ๒๔๔๑) หน้า ๕๖๗ มีว่า

"วัดเขมาภิรตาราม (ว่างเจ้าอาวาส) พระครูเขมาภิมุขธรรม เป็นผู้กำกับวัด " เป็นอันว่าท่านพระครูสถิตธรรมสโมธาน (สอน) ไม่ได้อยู่ครองวัดแล้ว และจำกันได้ว่าได้ย้าย
มาอยู่วัดมกกุฎกษัตริย์ รูปนี้ครองมาแต่ พ.ศ. ๒๔๓๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ คิดเวลาราว ๘ ปี

๖. พระวินัยรักขิต (คง ปญฺญาทีโป) เป็นชาวอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นผู้สร้างโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ครองวัดเขมาภิรตารามอยู่ ๒๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ ลาออกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อกลับภูมิลำเนา

 

๗. พระเขมาภิมุขธรรม (นวล ยโส) เดิมเป็นชาวอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ครองวัดเขมาภิรตารามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๗ รวมระยะเวลา ๑๔ ปี
(ตามบันทึกของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ สืบค้นได้เพียงแค่รูปที่ ๗) ต่อจากนี้ไปจะเป็นบันทึกของ พระมหาแพร กมมสาโร ป.ธ. ๙ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

 

๘. พระเขมาภิมุขธรรม (เกตุ) พ.ศ.๒๔๗๘ วัดเขมาภิรตารามว่างเจ้าอาวาส พระมหาเกตุ เกสโร ป.ธ. ๕ พระเปรียญแห่งสำนักนี้ เป็นชาวอำเภอฉวาง จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการตำแหน่ง เจ้าอาวาสสีบต่อมา เมื่อราวเดือนพฤษภาคมศกนั้น
พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษา เพื่อศึกษาอบรมการปกครอง ในระหว่างนี้ สมเด็จๆ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุตได้ส่งพระญาณรักขิต
(หรัง ปิยธโร ป.ธ. ๕) สำนักวัดบรมนิวาส พระนคร มารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนชั่วคราว ออกพรรษา
รับกฐินแล้วย้ายกลับวัดเดิมทั้ง ๒ รูป คือ พระญาณรักขิต กลับวัดบรมนิวาส พระมหาเกตุกลับวัดเขมาๆ พ.ศ. ๒๔๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงในราชทินนามที่ พระเขมาภิมุขธรรม ในงานพระราชพิธี ฉัตรมงคล รัชกาลที่ ๘ ณ วันที่ ๒ มีนาคม ศกนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี (ธรรมยุต) พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางการคณะสงฆ์ปรับปรุงการปกครองระหว่างนิกายสงฆ์ใหมได้รับแต่งตั้งสับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เป็นเจ้าคณะธรรมยุตอำเภอจังหวัดนนทบุรี ขึ้นสังกัดคณะธรรมยุตจังหวัดธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี โดยพระมหารัชชมังคลาจารย์

วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเจ้าคณะจังหวัด (ก่อนแต่นี้ ขึ้นอยู่ในสังกัดการปกครองของวัดบวรนิเวศวิหาร) พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับกิตติมศักดิ์เพื่อให้พักผ่อนรักษาสุขภาพ รวมเวลาอยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาส ๓๒ ปี ในสมัยท่านได้บูรณะพระมหาเจดีย์ และค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ

๙. พระธรรมรัชมงคล (จับ อุคฺคเสโน) พ.ศ. ๒๕๐๙ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริยาราม ทรงมีพระบัญชาให้พระจุลนายก (จับ อุคคเสโน ป.ธ.๕) พระราชาคณะปลัดซ้ายฐานุกรม แห่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดเขมาภิรตาตาม เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ สืบต่อ จากพระเขมาภิมุขธรรม (เกตุ เกสโร) ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสและเป็นพระอุปัชฌายะเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่ พระราชสารสุธี พ.ศ. ๒๕๒๓ พระราชทินนามที่ พระเทพญาณกวี พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชทินนามที่ พระธรรมรัชมงคล ตามลำดับ เป็นชาวอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มรณภาพวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สิริอายุ ๘๘ พรรษา ๖๘ ครองวัดเขมาภิรตารามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑ รวม ๓๒ ปี

๑๐. พระราชปฏิภาณโกศล (ละเอียด สลฺเลโข) เป็นชาวตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมอยู่วัดราชาธิวาสวิหาร มีสมณศักดิ์ที่พระครูวิจิตรธรรมคุณ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ย้ายมาอยู่วัดเขมาฯ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุเมธีธรรมภาณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดเขมาฯ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดเขมาฯ และพระอุปัชฌาย์ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับโปรดเกล้าๆ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปฏิภาณโกศล วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธากรกวี มรณภาพวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ สิริอายุ ๗๗ พรรษา ๕๗ ครองวัดเขมาฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ - พ.ศ. ๒๕๖๒ รวม ๒๐ ปี

bottom of page